การออกแบบฉากละครเวที: SCENIC DESIGN
เพิ่มไปรายการที่ชอบ
การออกแบบฉากละครเวที: SCENIC DESIGN
อ่านเล่มนี้ ฟรี!
เพียงมีแพ็กเกจ Buffet Premium
ราคา
ซื้อฉบับนี้ : 15.00 ฿
เกี่ยวกับ
ในการออกแบบฉากละคร ศิลปินแต่ละคนจะพยายามปรับวิถีทางที่เหมาะสมกับความถนัดและรสนิยมของตนเอง แต่ละคนจึงมีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันไปโดยสิ้นเชิง ขั้นตอนการออกแบบฉากของนักการละครโดยแท้จริง ทำโดยการวิเคราะห์บทละคร และตีความหมายบทละคร การประชุมทีมงานฝ่ายต่างๆ เพื่อค้นหาความต้องการของผู้กำกับการแสดงในการนำเสนอบทละครเรื่องนั้นๆ และเลือกสไตล์ที่จะใช้ในการนำเสนอบทละคร ค้นหาความต้องการด้านเทคนิคของบทละคร ได้แก่ จำนวนฉากตามลำดับก่อนหลัง และ ปัญหาในการเปลี่ยนฉาก มีพื้นที่พอหรือไม่ หรือมีตัวช่วยอื่นๆ หรือไม่ เวทีและส่วนประกอบต่างๆ ที่เราต้องทราบ ได้แก่ ขนาดและรูปทรงของโรงละครที่ใช้ประกอบงานนั้นๆ ที่ว่างสำหรับเก็บฉากด้านข้างเวที และ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนฉากที่มีอยู่ทั้งหมด อุปกรณ์แสงและเครื่องช่วยในการจัดแสงที่มีและสามารถใช้งานได้จริงทั้งหมด ห้องปฏิบัติงานและอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถใช้งานได้ การกำหนดเส้นสายตา ตรงตำแหน่งที่ถูกต้อง ทำการค้นคว้าวิจัย หาข้อมูลต่างๆ ค้นหาวัสดุที่เป็นพื้นฐานในงานออกแบบละครเรื่องนั้นๆ นำเสนอภาพร่างและหุ่นจำลองฉากเพื่อแสดงหน้าตาของฉากที่จะใช้ประกอบในการแสดง สิ่งที่ผู้ออกแบบต้องจัดทำ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างฉาก และดำเนินงานของฝ่ายงานต่างๆ ได้แก่ Ground plan, Front elevations, Detail drawing or Full scale detail drawing การเลือกเครื่องประกอบฉากการแสดงและเวที การทาสีฉากให้มีสีสันตามที่ระบุไว้ใน painted elevation และ การตกแต่งฉากที่ประกอบกันเป็นฉากใหญ่ก่อนการซ้อมใหญ่ เมื่อได้รับบทละครมา ให้ทำการอ่านครั้งแรก ผู้ออกแบบฉากต้องทำการอ่านบทรวดเดียวจบ เพื่อให้ทราบเรื่องราวและเหตุการณ์ทั้งหมด พยายามมองหาส่วนประกอบต่างๆ ในทุก ๆ ด้านเท่าที่จะทำได้ ผู้ออกแบบฉากจะมุ่งมั่นอยู่แต่สิ่งเดียวว่า ละครเรื่องนั้น ๆ ได้รับบรรยากาศและแบกกราวนด์ที่มีความหมายที่เหมาะ สมที่สุดเท่าที่โอกาสและสถานการณ์จะอำนวยให้ ผู้สนใจที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นนักออกแบบฉากละครรุ่นใหม่ต้องสามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ มาก มายรอบด้าน แต่สำหรับผู้ออกแบบในงานด้านอื่นๆ ค่อนข้างมีอิสระในการแสดงออกซึ่งความคิดของตนเองได้อย่างกว้างขวาง ในขณะที่ผู้ออกแบบฉากละครมีข้อจำกัดและข้อห้ามต่างๆ มาก มาย จึงควรทำความเข้าใจความหมายของการออกแบบฉากละครเวทีให้ถ่องแท้ ข้อจำกัดต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อผลงานของผู้ออกแบบฉาก ได้แก่ 1. เนื้อหาเรื่องราวในบทละครเป็นตัวบงการ 2. ความคิดเห็นและคำวิจารณ์ของผู้กำกับการแสดง 3. ปัญหาของทีมงานฝ่ายอื่นๆ เป็นต้น ผู้ออกแบบฉากเมื่อพ้นช่วงศึกษาหาความรู้ด้านต่างๆ เป็นอย่างดีแล้ว จะมีความภาคภูมิใจที่ผลงานของตนเองที่ได้รับการผลิตให้ปรากฏสู่สายตาของคนดูอย่างยิ่งใหญ่บนเวทีการแสดง มิได้เป็นเพียงภาพร่างระบายสีบนแผ่นกระดาษที่วางอยู่บนเวทีอย่างไม่มีความหมายอีกต่อไป แต่เปลี่ยนจากงานออกแบบสองมิติกลายเป็นภาพองค์ประกอบสามมิติที่ดูยิ่งใหญ่ท้าทายสายตาของผู้ชมทุกช่วงการแสดง การมีทีมงานที่ดีมีความรอบรู้ด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย ทำงานเป็นหนึ่งใจเดียวกันในการประกอบงานเพื่อการแสดงภายใต้การนำของผู้กำกับการแสดง
รายละเอียด
วันวางขาย :
จำนวนหน้า : 25 หน้า
ประเภทไฟล์ : PDF
ขนาดไฟล์ : 17.57 MB
ประเทศ : TH
ภาษา : Thai
จากสำนักพิมพ์ Krisaraoutlookcoth
กำลังโหลด ...