0 Ratings

เพิ่มไปรายการที่ชอบ

อ่านเล่มนี้ ฟรี!

เพียงมีแพ็กเกจ Buffet Premium

ราคา

ซื้อฉบับนี้ : 45.00 ฿

เกี่ยวกับ

ในการจัดแสงให้ได้ประสิทธิภาพและและประสิทธิผลที่ตอบสนองความรู้สึกและจินตนาการของผู้ชมอย่างกว้างขวางในละครแต่ละเรื่อง เราใช้การผสมผสานกันระหว่างการจัดแสงแบบ general illumination, specific illumination, specialty illumination และ special effect illumination ซึ่งทำให้เกิดภาพที่มีความหลากหลายในแสงเงาในบริเวณการแสดง และเนื่องจากเป็นการจัดแสงที่ก่อให้เกิดความลึกบนตัวละคร จึงทำให้แลเห็นเป็นรูปทรงอย่างเด่นชัด ส่วน general illumination ทำหน้าที่เป็นเงาและล้างเงาให้จางลง ทำให้ specific illumination ดูเด่นขึ้น และทำให้บริเวณทั้งหมดดูมีชีวิตชีวาที่น่าสนใจ ความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางและความเข้มแห่งการส่องสว่างของแสงที่ส่องไปกระทบกับวัตถุ เป็นที่มาของแสงไฟหลักที่เรียก main light หรือ key light ที่ส่องจากโคมที่มีความเข้มของแสงที่สูงกว่า ตรงไปยังวัตถุหรือนักแสดงบนเวทีทำให้เกิดเงาเข้มในด้านตรงข้าม แล้วใช้แสงรองที่เรียก fill light เสริมให้เงาจางลงเพื่อให้ดูดีเป็นธรรมชาติทำนองทำ highlight and shadow นั่นเอง ในการจัดแสงให้แก่นักแสดงบนเวที เป็นการจัดแสงให้แก่นักแสดงที่อยู่กับที่ในบางโอกาส และให้แก่นักแสดงที่เคลื่อนที่ไปบนเวทีในตำแหน่งต่าง ๆ มุมแสงแบบมาตรฐานถูกกำหนดขึ้นโดยใช้อุปกรณ์แสงแบบสปอตไลต์ส่องตรงไปที่นักแสดงทำมุม 45 จากด้านบนและเยื้องไปทางด้านซ้ายและขวามือด้านละ 45 จากแกนสมมุติ รวมเป็น 90 ผู้ออกแบบแสงสามารถใช้อุปกรณ์แสงในมุมที่เรียกว่า back lighting, cross lighting และ side light หรือ glint light มาช่วยเสริมให้เห็นตัวนักแสดงเด่นชัดขึ้นและแยกออกจากแบ็กกราวนด์ด้านหลัง เป็นการเพิ่มมิติให้แก่นักแสดงอีกมิติหนึ่ง ในการจัดแสงสำหรับฉากการแสดงที่นักแสดงเคลื่อนที่ไป แบ่งได้เป็น 8 ลักษณะ คือ การจัดแสงเพื่อบริเวณที่ใช้ในการแสดง การจัดแสงเพื่อเสริมบริเวณสำคัญ การผสมและย้อมสีแสงบริเวณที่ใช้ในการแสดง การจัดแสงที่ฉากและแบ็กกราวนด์ด้านหลัง การจัดแสงตามแสงที่ส่องมาจากอุปกรณ์ประกอบเวที การจัดแสงที่แสดงทิศทางที่มาแต่ไม่เห็นแหล่งกำเนิดแสง การจัดแสงบริเวณพื้นที่พิเศษ และการจัดแสงและฉายภาพประกอบเพื่อเทคนิคพิเศษ ในการจัดแสงให้แก่นักแสดงบนเวที ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างแสงกับร่างกายของนัก แสดงทุกส่วน หน้าของนักแสดง และการแสดง สิ่งที่ผู้ออกแบบแสงสามารถนำมาเป็นเกณฑ์พิจารณาเพื่อการจัดแสงให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อความสัมพันธ์ทั้ง 3 ได้แก่ การตัดกันระหว่างแสงที่ส่องนักแสดงกับแสงบนแบ็กกราวนด์ด้านหลัง การตัดกันระหว่างแสงหลักกับแสงรอง สีของแสงหลักกับแสงรอง มุมแสงของแสงหลักและแสงรอง แสงหลักที่มาจากด้านข้างและความแตกต่างระหว่างรูปร่างของนักแสดงและตำแหน่งของนักแสดงบนเวที

รายละเอียด

วันวางขาย :

จำนวนหน้า : 39 หน้า

ประเภทไฟล์ : PDF

ขนาดไฟล์ : 28.76 MB

ประเทศ : TH

ภาษา : Thai

จากผู้แต่ง

กำลังโหลด ...

จากสำนักพิมพ์ Krisaraoutlookcoth

กำลังโหลด ...

ให้ 5 คะแนน

ส่งคะแนน

ส่งรีวิว