ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เพิ่มไปรายการที่ชอบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
อ่านเล่มนี้ ฟรี!
เพียงมีแพ็กเกจ Buffet Premium
ราคา
ซื้อฉบับนี้ : 549.00 ฿
เกี่ยวกับ
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ ลักษณะ ๒๒ หุ้นส่วนและบริษัท มีบทบัญญัติบางมาตราไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากไม่เอื้อต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน และสร้างภาระโดยไม่จำเป็นแก่ประชาชน นอกจากนี้ ยังเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการกำหนด จำนวนขั้นต่ำของผู้เริ่มก่อการและตั้งบริษัทจำกัดไว้สามคน และการไม่กำหนดระยะเวลาการจ่ายเงินปันผล ของบริษัทจำกัด สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อขจัดอุปสรรคดังกล่าว รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัว ในการประกอบธุรกิจโดยเพิ่มหลักการควบรวมบริษัท จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
- ประมวลกฎหมายอาญา
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญากำหนดเกณฑ์อายุเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษแม้ได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ที่อายุยังไม่เกินสิบปี แต่จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าเด็กอายุสิบสองปีกับเด็กอายุสิบปีไม่มีความแตกต่างกันมากนัก โดยเป็นช่วงอายุที่พัฒนาการด้านความคิด สติ ปัญญา จริยธรรม และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่และยังไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของตนได้อย่างดีพอ อีกทั้งเด็กอายุไม่เกินสิบสองปีอยู่ในวัยการศึกษาระดับประถมศึกษา ยังไม่สมควรให้เข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีอาญาซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการบางประการที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และอาจทำให้เด็กเรียนรู้วิธีกระทำความผิดเพิ่มขึ้นจนนำไปสู่การกระทำความผิดซ้ำอีก กรณีจึงสมควรใช้มาตรการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กเพื่อให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของเด็กอายุสิบปีแต่ไม่เกินสิบสองปีได้รับผลดียิ่งขึ้น
โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญเพื่อให้เด็กกลับตัวเป็นคนดีและเป็นประชากรที่มีคุณภาพกลับคืนสู่สังคมได้ต่อไป ประกอบกับการกำหนดเกณฑ์อายุของเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษแม้ได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดจากอายุยังไม่เกินสิบปี เป็นอายุยังไม่เกินสิบสองปี เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะทั่วไป ฉบับที่ ๑๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗) (General Comment No. 10 (2007) Children’s rights in juvenile justice) ที่ออกตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC) และประเทศไทยได้ตอบรับและให้คำมั่นโดยสมัครใจที่จะปฏิบัติตามภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึง พ.ศ.๒๕๖๓) อีกด้วยจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้มีระบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่มีกรณีพิพาททางแพ่งใช้เป็นช่องทางในการยุติข้อพิพาทก่อนที่จะมีการฟ้องคดี โดยคู่กรณีสามารถร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและหากตกลงกันได้ก็อาจขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้ทันที ทำให้ข้อพิพาททางแพ่งสามารถยุติลงได้ในเวลาอันรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องคดี อีกทั้งเป็นการประหยัดเวลาและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องสูญเสียในการดำเนินคดีอันจะยังประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้การปล่อยชั่วคราวในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินห้าปีขึ้นไปต้องมีประกัน อาจจะเป็นภาระแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย ทั้งที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีพฤติกรรมจะหลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น สมควรขยายอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเป็นสิบปีขึ้นไปเพื่อให้โอกาสผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวมากขึ้น อันจะเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติว่าในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี โดยคำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณา และจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิได้ ทั้งยังให้เจ้าพนักงานศาลมีอำนาจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนีในระหว่างที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นด้วย นอกจากนี้ หากปรากฏว่ามีการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลยในหลายกรณี หรือฟ้องคดีโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้ตามปกติธรรมดา อันเป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ที่ถูกฟ้องร้องและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องให้ศาลมีอำนาจยกฟ้อง ดังนั้น เพื่อให้ระบบการปล่อยชั่วคราวและการพิจารณาพิพากษาคดีอาญามีความเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบันและสามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
รายละเอียด
วันวางขาย :
จำนวนหน้า : 1114 หน้า
ประเภทไฟล์ : PDF
ขนาดไฟล์ : 270.29 MB
ประเทศ : TH
ภาษา : Thai
จากสำนักพิมพ์ RUN OF LAW
กำลังโหลด ...